Thursday, October 27, 2011

ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )

สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต หรหมรังสี ) เดิมชื่อ โต เกิดวันพฤหัส ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก จ.ศ. 1150 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 เวลาเช้าตอนออกพระออกบิณฑบาตในรัชกาลที่ 1 ณ บ้านไก่จัน ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ. นครศรีอยุธยา บิดารับราชการใหญ่ในวังหลวง นามอะไรไม่ได้บันทึกไว้ มารดาชื่อ เกสร บุตรนายชัยกับนางเกตุ เป็นชาวท่าอิฐ อ. โพธิ์ จ. อุตรดิตถ์ โดยเจ้าคุณธรรมเป็นผู้ตั้งชื่อ "โต" ให้

พ.ศ. 2343 บวชเณรที่วัดบางขุนพรหมนอก ( วัดอินทรวิหาร ) เมื่ออายุ 12 ปี

พ.ศ. 2350 อุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

มรณภาพ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 อายุ 85 ปี บวชพระ 65 พรรษา บวชเณร 8 พรรษา

พระราชทานเพลิงพระศพ แรม 8 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา จ.ศ. 1235 ตรงกับวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2416 พระอัฐิป่นกลายเป็นผงขี้เถ้าหมด





หมั่นสร้างบารมีไว้...แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง
" ลูกเอ๋ย  ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอดเพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้อง เอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่วสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง

จงจำไว้นะ.... เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้...ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดิน ก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า"


นี่คือคำเทศของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) ทีได้โปรดชี้ธรรมไว้ในนิมิต หลังจากที่ล่วงลับไปแล้วเมื่อ 100 กว่าปี อันเป็นปฐมเหตุที่ต้องสร้างความดีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

Wednesday, October 26, 2011

คุณประโยชน์ของการสวดมนต์

การสวดมนต์สามารถสร้างสมาธิ ทำให้จิตใจเบาสบายเกิดบุญกุศลลดกรรมให้เบาบางลง และทำให้เกิดปัญญา การสวดมนต์ไม่ว่าจะเป็นบทสวดบทใดก็ตามทำให้เกิดบุญทั้งสิ้น แต่ในที่นี้ข้าพเจ้าอยากให้ท่านทั้งหลายสวดบท พระธัมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง ซึ่งเป็นบทที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เมื่อสวดมนต์เสร็จทุกครั้งให้ผ่เมตตาและโอนบุญให้บิดามารดา และเจ้ากรรมนายเวรทุกครั้ง

Tuesday, October 25, 2011

อาลัยหลวงปู่นิล 2

มันขับรถ  ไม่ระวัง  ยังกับเหาะ                                       เสียงหัวเราะ  กับใคร  นายสมิง
ท่านอยู่หลัง  นั่งนอน  ไม่ค้อนติง                                   หรือมีหญิง  มาด้วย  รถไกวมา
พอมาถึง  บ้านพะโค  โอ้อนาถ                                      รถมันฟาด  อะไรพัง  ดังหนักหนา
ชนสะพาน  แน่แน่  แย่แล้วนา                                        อนิจจา  คนขับ  คงหลับใน
คนขับตาย  นายสมิง  จริงหรือเปล่า                                ท่านรู้ข่าว  เรื่องคนขับ  ไม่หลับไหล
ท่านคงคิด  เศร้าโศก  โรคหัวใจ                                     ที่ทำให้  ป่วยไข้  ไปหลายวัน
ออกจาก  โรงพยาบาล  มาอยู่วัด                                    ท่านไม่ขัด  นิมนต์  ทนขยัน
ท่านไปทุก  ถิ่นที่  ทุกวี่วัน                                              แต่ร่างกาย  ท่านนั้น  มันทรุดโทรม
ท่านคิดไว้  อย่างเดียว  ให้โบสถ์เสร็จ                               ให้สำเร็จ  แน่แท้  แม้หักโหม
ท่านอดทน  หนักหนา  แม้ว่าโทรม                                  ปลอบประโลม  ท่านไม่ฟัง  ช่างหัวมัน
ถ้านิมนต์  ที่ไหน  ท่านไปหมด                                       ทรหด  จริงจริง  ยิ่งขยัน
ท่านอุตส่าห์  ว่าหวัง  อะไรกัน                                        ไม่กี่วัน  โบสถ์คงเสร็จ  สำเร็จพอ
เดือนมีนา  ท่านปวดขา  ข้างขวาหนัก                               ลูกศิษย์รัก  จึงพา  ไปหาหมอ
มหาราช  โรงพยาบาล  นั้นคอยรอ                                   ท่าน ผ.อ.  รับรักษา  เยียวยาไป
ค่อยยังชั่ว  กลับมา  อยู่ที่วัด                                           ไม่เคยขัด  รับนิมนต์  คนที่ไหน
ไม่เคยบ่น  ร่างกายแย่  แม้ใกล้ไกล                                   เป็นอะไร  ท่านอดทน  บ่นไม่มี          เมื่อกลับมา  ก็หาหมอ  ต่อไปอีก                                     ท่านอยากหลีก  ไม่อยากไป  ใจอยากหนี
ไปทีไร  ก็ไม่หาย  ให้สักที                                              ไปมา  อยู่อย่างนี้  หลายทีจริง
กรกฎา พาไป  ท่านไม่กลับ                                             ได้แต่หลับ  น้ำตาไหล  อะไรสิง
ท่านปวดมาก  ร่างกาย  ไม่ไหวติง                                     นอนแน่นิ่ง  ช่วยหายใจ  ให้น้ำเกลือ
หมอบอกว่า  อาการ  ท่านน่าห่วง                                     ใช้ของถ่วง  มัดมือเท้า  เหมือนเขาเกลือ
เพราะท่านดิ้น  เวทนา  เหมือนทาเกลือ                              ทั้งตัวเนื้อ  ให้สงสาร  ท่านเหลือเกิน
อยู่หลายวัน  อาการ  ท่านหนาหนัก                                    เห็นประจักษ์  หมอช่วยไว้  ไม่ขาดเขิน
คนไปดู  น้ำตาไหล ใ ช่ทำเมิน                                          สงสารท่าน  เหลือเกิน  หลวงปู่เรา



ตอนพูดได้  สั่งไว้  ยกช่อฟ้า                                            ที่สิบห้า  ขึ้นเก้าค่ำ  ยามของเขา
ในเดือนเก้า  เป็นวันดี  ปีของเรา                                       ขอให้เอา  ตามที่สั่ง ได้ดังใจ
เชิญผู้ว่า  เป็นประธาน  ในงานยก                                      อย่าวิตก  ทำให้ดี  กว่าที่ไหน
สานุศิษย์  ก็เตรียมงาน  ทุกวันไป                                      หลวงปู่ท่าน  พูดไม่ได้  ในต่อมา
ถึงเดือนเก้า  ขึ้นเก้าค่ำ  ตามกำหนด                                   หลวงปู่หมด  โอกาส  ในวาสนา
ยังไม่ทันยก  ช่อฟ้า  ท่านมรณา                                         อนิจจา  น่าสงสาร  ท่านจากไป
ในวันนั้น  งานช่อฟ้า  และงานศพ                                      มาบรรจบ  ร่วมกัน  พลันใจหาย
พวกญาติโยม  รู้ข่าว  แล้วเศร้าใจ                                      แสนอาลัย  ในหลวงปู่  คู่บ้านเรา
คนไหลมา  เคารพ  ศพหลวงปู่                                         ไกลสุดกู่  รีบพลัน  มาทันเขา
ต้องรีบไป  รดน้ำ  ก่อนจะเอา                                           ใส่หีบเจ้า  พระราชทาน  งานพระครู
ท่านผู้ว่า  ดำรง  ผู้ทรงศักดิ์                                               ท่านตระหนัก  ทำให้ดี  ที่สวยหรู
ใส่หีบทอง  ของในหลวง  ปวงชนดู                                     ชั้นพระครู เกจิใหญ่  ไว้ร้อยวัน
หลวงปู่เรา  จากไป  ไม่มีกลับ                                            จิตท่านดับ  คงได้  ไปสวรรค์
ไม่มีชั่ว  ทำแต่ดี  ในชีวัน                                                 ชั้นนิพพาน  ของหลวงปู่  อยู่รับเอา
ส่วนญาติโยม  ลูกหลาน  นั้นไม่สุข                                     อยู่เป็นทุกข์ คิดถึงท่าน  นั้นเงียบเหงา
เห็นแต่รูป  รูปปั้น พอบรรเทา                                             แม้แต่เงา  คงไม่เห็น  เป็นขวัญตา
ขอกุศล  ผลบุญ  ของหลวงปู่                                            ที่มีอยู่  ปู่ไปเกิด  แดนสุขา
สถิตอยู่  สรวงสวรรค์  ชั้นเทวา                                           อย่าลงมา  เมืองมนุษย์  สุดลำเค็ญ
แลเห็นโบสถ์  ศาลา  หรือว่า  กุฎิ                                        ใจแทบปริ  ไปจาก  ไม่อยากเห็น
เคยเห็นหน้า  หลวงปู่  อยู่เช้าเย็น                                        ต่อไปนี้  คงไม่เห็น  เป็นขวัญใจ
ถ้าชาติหน้า  มีจริง  สิ่งศักดิ์สิทธิ์                                          ช่วยลิขิต  พาหลวงปู่  ถ้าอยู่ไหน
ดลบันดาล  ให้มาอยู่  คู่เราไป                                             เกิดชาติใหม่  ให้แน่นอน  ครบุรี
จะหาพระ  ที่ไหน  มาเหมือนท่าน                                         ทั่วทุกย่าน  งดงาม  ตามวิถี
ต่อไปนี้  คงอยู่  แต่ความดี                                                  ครบุรี  วัดหลวงปู่  อยู่ไปเอย

สุวรรณ กาญจนขุนดี
อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านครบุรีนครธรรมโฆสิตวิทยาคาร อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ประพันธ์แจก เนื่องในงานทำบุญครบ 50 วัน ของหลวงปู่นิล วัดครบุรี
3 ตุลาคม 2537

Monday, October 24, 2011

อาลัยหลวงปู่นิล

หลวงปู่นิล  สิ้นใจ  ใจแทบขาด                                   แสนอนาถ  หัวใจ  ให้เหือดหาย
สรรพสิ่ง  ทั้งหลาย  ต้องมลาย                                    แต่เสียดาย  หลวงปู่  อยู่ครบุรี
เหล่าปวงชน  ยกย่องท่าน  นั้นประเสริฐ                         พ่อกำเนิด  เกิดมา  ชื่อว่าสี
แม่ชื่อพิม  นั้นหนอ  ก็คนดี                                         ครบุรี  ที่กำเนิด  ให้เกิดมา
มีพี่น้อง  สามนาย  สายโลหิต                                     ท่านสถิต  ครบุรี  ที่สุขา
ชื่อปู่บุญ  พี่ใหญ่  ได้มรณา                                         หลวงปู่ว่า  ข้าหรือ  คือคนกลาง
ปู่อูป  น้องสุดท้อง  ของหลวงปู่                                   ก็ไม่อยู่  จากไป  ไม่ถากถาง
มีแต่หลาน  หญิงชาย  หลายนายนาง                            อยู่อ้างว้าง  เห็นมี  ไม่กี่คน
นายสมศักดิ์  นางไพทูรย์  คุณพิจิต                               นายประเสริฐ  ที่สนิท  คิดสับสน
ช่วยหลวงปู่  จริงแท้  ถึงแม้จน                                     ก็อดทน  เพื่อหลวงปู่  ให้อยู่นาน

ประวัติท่าน นั้นหนา ถ้าจะกล่าว                                    ขอบอกข่าว  เท่าที่รู้  สู้ไขขาน
เพราะกำเนิด เกิดมา ก็นมนาน                                      อายุท่าน  เก้าสิบสาม  ตามครรลอง
ถือกำเนิด เกิดมา สิบห้าค่ำ                                          เพ็ญเดือนสาม  ฤกษ์งาม  ตามสนอง
เกิดวันพุธ สุดดี มีทำนอง                                            จันทร์เรืองรอง  ส่องสว่าง  กลางนภา
ท่านเป็นเด็ก ธรรมดา ทำนาไร่                                      พ่อแม่ใช้  ทำงาน  นั้นหนักหนา
เลี้ยงวัวควาย กลั้วไป ทำไร่นา                                      ถึงเวลา  ตรวจทหาร  ท่านก็ไป
ตรวจทหาร หลุดมา ท่านลาบวช                                    ท่านผนวช  วัดครบุรี  ดีกว่าไหน
พ่อแม่ได้ ทำบุญ สุนทรไป                                            แต่ดวงใจ  หวังผนวช บวชอยู่นาน
รสพระธรรม ล้ำลึก ไม่สึกแน่                                         ใจเที่ยงแท้  เสียจริง  ยิ่งฝันหวาน
ท่านอุตส่าห์ เล่าเรียน เปลี่ยนดวงมาน                             อ่านใบลาน  ขอมไทย  ให้รู้ดี
ทั้งคาถา  อาคม  ของสมเด็จ                                        เรียนเบ็ดเสร็จ  เชี่ยวชาญ  ท่านสุขี
ปณิธาน  ท่านรู้  อยู่ครบุรี                                             เป็นถิ่นที่  พำนัก  พักกายา
บวชอยู่นาน เป็นสมภาร  เจ้าอาวาส                                ความสามารถ  ทางช่าง  ต่างสรรหา
สร้างกุฏิ สร้า้งโบสถ์ สร้า้งศาลา                                     เอากายา อาบเหงื่อ เพื่อสร้างงาน
ท่านทำงาน ด้วยมือ ถือไสกบ                                        ไม่พานพบ เครื่องยนต์ คนสงสาร
ทำต้นเสา ใหญ่โต มโหฬาร                                           เป็นพยาน เห็นอยู่ คู่ครบุรี
กระดานยาว สิบเก้าศอก บอกให้รู้                                    ยังมีอยู่ ให้เห็น เป็นสักขี
กุฎิเก่า ทนทาน มานานปี                                               ครบุรี วัดหลวงปู่ อยู่บ้านเรา
สร้างโรงเรียน ครบุรี ที่ประจักษ์                                       อนุรักษ์ อยู่ไม่ได้ ให้เงียบเหงา
มันผุพัง ตามเวลา หาแม้เงา                                           คนบ้านเรา คงรู้ ดูต่อไป
ช่วยสร้า้งวัด หนองโสน โก้ไม่หยอก                                 จะขอบอก สร้างโรงเรียน เพียรไฉน 
สระผักโพด บ้านดอน ห่อนห่วงใย                                     แม้ว่าใคร ขอให้ช่วย ทำด้วยมือ
ท่านเป็นหมอ สมุนไพร ไกลความสุข                                 บรรเทาทุกข์ สุขใจ ใคร่นับถือ
ท่านทำยา แจกจ่าย  ใครก็ลือ                                           ไม่ให้ซื้อ แจกฟรี นี่ทำทาน
ทั้งโรคร้าย หลายอย่าง ต่างหายขาด                                  ความสามารถ เยียวยา อย่างกล้าหาญ
เมื่อคนป่วย มาหา พยาบาล                                             มาหาท่าน ผู้ป่วย ช่วยทุกคน
ท่านเรียนรู้ เวทมนต์ จนเจนจัด                                          หนังสือวัด สวดได้ ไม่ขัดสน
ทั้งเจิมรถ เจิมป้าย ใช้เวทมนนต์                                        ทั้งเจิมคน ลงยันต์ นั้นทำดี
ทำตะกรุด ลงยา สารพัด                                                  ท่านสวดยัน ให้อยู่ยง คงศักดิ์ศรี
แล้วสอนว่า ให้ทุกคน จงทำดี                                            ต่อไปนี้ แคล้วคลาด อาจไม่ตาย ทำทำพระเครื่อง เลื่องลือ ถือศักดิ์สิทธิ์                                    ช่วยชีวิต ผู้คน ชนหลากหลาย
ไม่ถึงที่ ก็ไม่มี อันตราย                                                    ทั้งหญิงชาย บูชา หาป้องกัน
ยกตัวอย่าง แน่นอน ไม่หลอนหลอก                                    คือนางจอก ครบุรี ดีมหันต์
คนรอบยิง พรุนทั้งบ้าน ใครป้องกัน                                      สีผึ้งนั้น รูปหลวงปู่ ชูบูชา
ที่เลื่องลือ ไปทั่ว ตะกั่วเถื่อน                                              ถือกันเกลื่อน กันตัว คนคว้าหา
ลงด้วยมือ ของท่าน นั้นลงยา                                             เศกคาถา อยู่ยง คงกระพัน
แม้รูปเหมือน ของท่าน ป้องกันได้                                        เหรียญรูปไข่ เสมา พาสุขสันต์
ทั้งพระกริ่ง พระบูชา มาลงยันต์                                           อัศจรรย์ ของทุกอย่าง ต่างก็ดี
เมื่อท่านอยู่ มีผู้มา หาไม่ขาด                                             แม้น้ำมนต์ ในบาตร คลาดกันผี
เมตตา มหานิยม คนชมดี                                                  ครบุรี วัดหลวงปู่ ผู้คนมา
คนนิยม มากมาย  ในพระเครื่อง                                          คนลือเลื่อง ช่วยทำบุญ หนุนหนักหนา
ท่านมาคิด ว่าชีวิต อาตมา                                                 ไปข้างหน้า ก็แก่เฒ่า เข้าทุกวัน
ท่านจึงคิด ปรารถนา จะสร้างโบสถ์                                       ท่านจึงโปรด หาช่าง มาสร้างสรร
ให้รีบสร้าง ทันที ทุกวี่วัน                                                    สิ่งสำคัญ คือเงิน มันแพงเกิน
จึงอุตสาห์ ตั้งจิต คิดบากบั่น                                               ทุกคืนวัน ขยันไป ไม่หน่ายแพง 
แม้บางวัน อ่อนเปลี้ย สุดเพลียแรง                                        ใจท่านแข็ง ไม่เคยบ่น ให้คนฟัง
เพียงสองปี สร้างโบสถ์ ใกล้จะเสร็จ                                      ท่านก็เหน็ด เหนื่อยหลาย ให้ปวดหลัง
ท่านคิดว่า ร่างกาย ไม่จีรัง                                                  เมื่อมีเกิด แล้วมีพัง มันธรรมดา
ทั้งวันคืน ท่านไป มิได้ขาด                                                 แสนอนาถ วันนั้น ท่านกังขา
กลับจาก ชัยภูมิ กลุ้มจริงนา                                                หรือเป็นว่า คนขับเมา เหล้าจริงจริง     


Sunday, October 23, 2011

ประวัติพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เป็นชาวญี่ปุ่น เป็นสัทธิวิหาริกรุ่นแรกของหลวงพ่อพระพระโพธิญาณเถร ( ชา สุภัทโท ) ท่านบวชเมื่อ พ.ศ. 2518 อยู่ในคณะผู้บุกเบิกวัดป่านานาชาติ ท่านได้บำเพ็ญเพียรมาหลายรูปแบบได้ธุดงค์มาแล้วหลายแห่ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งที่อุดมสมบูรณ์และที่ทุรกันดาร ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นวัดสาขาที่ 117 ของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี


การที่ท่านพระอาจารย์ได้เดินทางมาประเทศไทย และได้อุปสมบทเป็นศิษย์ต่างชาติท่านหนึ่งของหลวงพ่อ ชา สุภัทโท นั้น ท่านว่าเป็นเรื่องที่ "เป็นไปเอง" ตั้งแต่เด็กๆท่านคิดเสมอว่า อะไรคือชีวิตที่น่าพอใจ...ชีวิจน่าจะมีอะไรที่มีคุณค่ามากกว่านี้...ท่านพระอาจารย์จึงออกสัญจรรอนแรมจากย้านเกิดเมืองนอนสู่อินเดีย เยปาล อิหร่าน และยุโรป แล้วเปลี่ยนความตั้งใจที่จะไปแอฟริกา วกกลับสู่อินเดีย เมื่อเดินทางมาถึงพุทธคยา เห็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ก็ระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์และประจักษ์ต่อใจว่า "นี่คือสิ่งที่แสวงหา สัจจะความจริงอยู่ภายในกายกับใจของเรานี่เอง ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่ใจ ทุกคนทุกชีวิตสามารถพ้นทุกข์ได้" ท่านจึงหยุดการแสวงหาจากภายนอก เข้าสู่การค้นหาภายใน

ท่านพระอาจารย์พูดถึงชาวตำบลบุ่งหวายและชาวบ้านก่อนอก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ผู้อุปฐากท่านด้วยศรัทธาว่า " เปรียบเสมือนพ่อแม่พี่น้องของอาตมา อุปการะเลี้ยงดูอาตมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณร"...และนี่คือที่มาของมูลนิธิมายา โคตมีที่ท่านริเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2533 เพื่อช่วยเหลือให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชนด้อยโอกาส ในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณ การให้ทุนการศึกษาได้ขยายออกไปยังอีกหลายจังหวัดของประเทศไทยในเวลาต่อมา

ท่านพระอาจารย์ได้สอนสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน โดยจัดอบรมอานาปานสติที่วัดสุนันทวนาราม ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19-27 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และได้มีการจัดอบรมเป็นระยะๆตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

หนังสือธรรมบรรยาย โดยพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

ปี 2534 ธรรมไหลไปสู่ธรรม
ปี 2535 พลิกนิดเดียว
ปี 2536 ทุกข์เพราะคิดผิด
ปี 2537 ทุกขเวทนา
ปี 2538 ผิดก่อน-ผิดมาก
ปี 2540 สอนคนขี้บ่น
ปี 2541 ปัญหา 108 (1)
ปี 2542 ปีกระต่ายขอจงสวัสดี (ฉบับปีเถาะ)
ปี 2543 ปีมะโรงขอจงมีความสุข ( ฉบับปีมะเมีย)
ปี 2544 ปัญหา 108 (2)
ปี 2545 ทำใจเป็นธรรม (ฉบับปีมะเมีย)
ปี 2545 ปัญหา108 (3)
ปี 2545 คู่มือเบื้องต้น อานาปานสติ (ชั่วโมงแห่งความคิดดี)
ปี 2545 เหตุสมควรโกรธ...ไม่มีในโลก (ฉบับปีมะแม)
ปี 2546 สาระแห่งชีวิต คือรักและเมตตา (ฉบับปีวอก)
ปี 2547 สติเป็นธรรมเอก
ปี 2547 สันโดษ...เคล็ดลับของความสุข (ฉบับปีระกา)
ปี 2548 มีขันติคือให้พรแก่ตัวเอง (ฉบับปีจอ)
ปี 2549 ปัญหา 108 (4)
ปี 2549 เราเกิดมาทำไม (ฉบับปีกุน)
ปี 2550 ชนะใคร...ไม่เท่าชนะใจตนเอง (ฉบับปีชวด)
ปี 2551 ปัญหา 108 (5)
ปี 2551 โชคดี (ฉบับปีฉลู)
ปี 2552 ใจดีสู้เสือ (ฉบับปีขาล)
ปี 2552 วัคซีนธรรมะ
ปี 2553 อีกหนึ่งมุมมอง (รวมบทสัมภาษณ์)
ปี 2553 ปัญหา 108 (6)

ประวัติ พระสุนทรธรรมากร

พระสุนทรธรรมากร ( หลวงปู่คำพันธุ์ โฆสปัญโญ)
อายุ 84 พรรษา 59 (พ.ศ. 2546 ) เจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย บ้านมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

สถานะเดิม ชื่อ คำพันธ์ ศรีสุวงค์ เกิดเมื่อ วันจันทร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 2 ) ปีเถาะ วันที่ 10 มกราคม พุทธศักราช 2458  ณ บ้านหนองหอยใหญ่ ตำบลนาแก (ปัจจุบันเป็นตำบลพุ่มแก) อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม โยมบิดา ชื่อ นายเคน ศรีสุวงศ์ โยมมารดา ชื่อ นางล้อม ศรีสุวงศ์ เป็นบุตรคนโต มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน 2 คนคือ
1. พระสุนทรธรรมากร ( คำพันธ์ ศรีสุวงค์ )
2. นายพวง ศรีสุวงค์   ( ถึงแก่กรรม )
และมีพี่น้องร่วมมารดา แต่ต่างบิดากันอีก 4 คนคือ
1. นางสด วงษ์ผาบุตร  ( ถึงแก่กรรม )
2. ด.ช. บด แสนสุภา    ( ถึงแก่กรรม )
3. ด.ญ. สวย แสนสุภา  ( ถึงแก่กรรม )
4. นางกดชา เสนาช่วย  ( ถึงแก่กรรม )

การบรรพชา-อุปสมบท
วันที่ 7 กันยายน 2475 ( อายุ 17 ปี ) ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีบุญเรือง บ้านหนองหอย ต.นาแก อ.นาแก จ. นครพนม โดยมีพระอาจารย์เชื่อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากได้บรรพชาแล้วก็ได้ศึกษาอักษรธรรมและหนังสือสูตรตามแบบโบราณ ในขณะเดียวกันก็ได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฎฐานควบคู่ไปด้วย หลังจากบรรพชาได้ 3 พรรษา ได้ออกเดินธุดงค์ทรงกลดไปที่จังหวัดเลย พร้อมกับพระภิกษุ 2 รูป คือ พระภิกษุบุญ และพระภิกษุวัน ก่อนหน้าที่จะได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานนั้น เคยได้รับความรู้เรื่องกัมมัฏฐานมาจาก พระอาจารย์เสาร์ ซึ่งท่านไปอบรมประชาชนที่วัดโพนเมือง ท่านอาจารย์เสาร์ได้ให้แนวทางในการปฏิบัติกรรมฐานไว้ว่าให้กำหนดลมหายใจเข้า-ออก ท่านอาจารย์เสาร์ได้ให้ข้อคิดต่อไปอีกว่า " ร่างกายของคนเรานั้นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มันทำงานอยู่ตลอดเวลา ลมหายใจเข้า-ออกนั้น มีความสำคัญมาก ถ้าลมไม่ทำงานคนเราจะตายทันที ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจ "

นอกจากนั้นท่านอาจารย์เสาร์ยังได้ย้ำอีกว่า " ให้คยเราตีกลองคือ ขันธ์ 5 ให้แตก" ซึ่งก็หมายความว่าให้ทำความเข้าใจขันธ์ 5 ให้จงดีให้เข้าใจตามสภาพที่เป็นจริง...

หลวงปู่ได้ยึดแนวทางในการปฏิบัติขิงท่านอาจารย์เสาร์เป็นแนวทางในการปฏิบัติเรื่อยมานับแต่นั้น ต่อมาก็ได้ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมร่วมกับอาจารย์ครุฑ ซึ่งเป็นพระขาว ( ปะขาว ) และได้รับความรู้เรื่องการปฏิบัติธรรม จากท่านอาจารย์นี้เพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก ที่จังหวัดเลยนี้ ได้จำพรรษาเป็นเวลา 1 พรรษาต่อมาได้รับข่าวโยมพ่อถึงแก่กรรม จึงเดินทางกลับบ้าน มาอยู่จำพรรษาที่บ้านเดิม คืออำเภอนาแก

พ.ศ. 2478 อายุ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นภิกษุและเริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม

พ.ศ. 2482 อายุ 24 ปี มารดาก็ถึงแก่กรรมเวลานั้นเหลือน้องผู้หญิง 2 คน ซึ่งยังเล็กมาก จึงได้ลาสิกขาบทออกไปเลี้ยงดูน้อง

พ.ศ. 2488 อายุ 30 ปี ได้กลับเข้าอุปสมบทอีกครั้งและได้ออกไปจำพรรษาที่วัดป่า เป็นเวลา 3 พรรษา ต่อมาก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน พร้อมเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมด้วยที่วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม

พ.ศ. 2495 ได้นำญาติโยมประมาณ 5 ครอบครัวจากบ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก มาสร้างบ้าน และวัดใหม่ ที่โนนมหาชัย และให้ชื่อบ้านว่า "บ้านมหาชัย" ในปัจจุบันนี้ ได้สร้างวัดธาตุมหาชัย ( เดิมชื่อวัดโฆษการาม ) จนเจริญรุ่งเรืองตราบถึงปัจจุบัน

ตำปหน่งงานปกครอง
พ.ศ. 2509 เป็นเจ้าอาวาสวัดโฆษการาม ( วัดธาตุมหาชัยในปัจจุบัน )
พ.ศ. 2509 เป็นเจ้าคณะตำบลมหาชัย
พ.ศ. 2518 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอปลาปาก
พ.ศ. 2519 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2519 เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษา ธรรม-บาลี
พ.ศ. 2531 เป็นเจ้าคณะอำเภอปลาปาก
พ.ศ. 2543 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอปลาปาก

สมณศักดิ์
พ.ศ. 2518 พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ "พระครูสุนทรธรรมโฆษิต"
พ.ศ. 2520 พระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ "พระครูสุนทรธรรมโฆษิต"
พ.ศ. 2528 พระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ "พระครูสุนทรธรรมโฆษิต"
พ.ศ. 2535 พระราชาคณะชั้นสามัญ ราชทินนาม "พระสุนทรธรรมากร"

หลวงปู่ละสังขาร
5 กันยายน 2546 หลวงปู่เข้ารักษาอาการอาพาธที่โรงพยาบาลนครพนม ต่อมาอาการอาพาธไม่ดีขึ้น จึงเข้ารักษาอาการอาพาธที่กรุงเทพ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2546 หลวงปู่พักรักษาอาการอาพาธที่กรุงเทพ เป็นเวลาเดือนเศษๆอาการของท่านก็ยังทรงกับทรุด คณะศิษย์จึงได้นิมนต์ท่านมารักษาอาการอาพาธที่วัดธาตุมหาชัย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2546 หลวงปู่มาพักรักษาอาการอาพาธที่วัดได้เดือนเศษๆ ท่านก็มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2546 เวลา 01.59 น. สิริอายุได้ 89 ปี

ปกิณกะธรรมหลวงปู่
" ความทุกข์นั้น มันมีมาตั้งแต่เกิด และมีอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่รู้ เพราะขาดสติปัญญา เข้าไปกำหนดรู้ทุกข์นั้น"

" ธรรมชาติของจิต มันมีหน้าที่คิด ดีก็คิด ชั่วก็คิด ต้องอาศัยตัวสติเป็นตัวกำหนดรู้ว่า จิตมันคิดดีคิดชั่ว"

"ในการบวชพระนั้น กรรมฐานเบื้องต้น คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นั้น ทุกคนเข้าใจว่า อุปัชฌาย์เป็นผู้ให้ แต่ความจริงแล้วกรรมฐานเบื้องต้นนั้น มันมีมาแต่เดิมแล้ว ถึงไม่มาบวชก็มีอยู่แล้ว อุปัชฌาย์เป็นเพียงผู้ชี้แนะให้รู้เท่านั้น

ที่มาเอกสารแจกฟรี ประวัติ เจ้าคุณพระสุนทรธรรมากร